เจ้าหน้าที่บุคลากร

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านช้าง

นายเสกสิทธิ์  อุ่นแท่น

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

หัวหน้าสถานีอนามัยนายวันชัย  เยี่ยงกุลเชาว์             นางธนาภา  ศรีหะรัญ                         นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ                         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

Leave a comment »

รูปภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านช้าง

Leave a comment »

ประวัติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านช้าง

ประวัติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านช้าง  ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช

สถานีอนามัยบ้านช้าง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลท่าเรือ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทุรกันดารมาก สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นทุ่งนา อยู่ห่างถนนใหญ่ประมาณ 8กิโลเมตร การสัญจรในอดีตจะใช้ทางน้ำโดยการใช้เรือในการสัญจรไปมา โดยการลงเรือที่บริเวณสะพานชะเมา แล้วลงเรื่อยมาตามลำคลองชะเมา ต่อมามีถนนตัดผ่าน จึงนิยมใช้การสัญจรทางบกมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่ามีความลำบากมาก โดยเฉพาะในฤดูฝน ถนนจะเป็นหลุมเป็นบ่อ รถวิ่งไม่ได้ น้ำท่วมถึงเป็นประจำทุกปี จึงยังคงมีการใช้ทางเรือบ้างในฤดูฝน ทำให้เกิดความลำบากเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านหมู่ที่ 7 บ้านช้าง หรือบ้านวัดโดนจะต้องไปใช้บริการด้านการรักษาและด้านสาธารณสุขที่สถานีอนามัยบ้านไม้แดง ซึ่งตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ ริมถนนสายนครศรีธรรมราช-สงขลา ซึ่งอยู่ห่างไกลกันมาก การคมนาคมยังไม่สะดวก เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉิน ก็ต้องใช้การสัญจรทางน้ำ โดยนำผู้ป่วยลงเรือไปตามลำคลองชะเมา ไปขึ้นที่ตลาดบางจาก เพื่อโดยสารรถเข้าตัวจังหวัดอีกต่อหนึ่ง

สภาตำบลมองเห็นความจำเป็น ของการมีสถานีอนามัยขึ้นไว้คอยบริการประชาชน ในหมู่ที่ 7 และหมู่บ้านใกล้เคียง จึงบรรจุโครงสร้างสถานีอนามัยในหมู่ที่ 7 ตำบลท่าเรือไว้ในแผน กชช. ปี 2525 กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติงบประมาณให้สร้างสถานีอนามัยได้ในปี 2532 พร้อมบ้านพักอีก 1 หลัง โดยเริ่มทำการก่อสร้างในเดือน ตุลาคม พ.ศ.2532 ในเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ซึ่งได้รับบริจาคทางนางตวัน  ปานสังข์ อยู่บ้านเลขที่ 154 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าเรือ แล้วเสร็จเมื่อเดือน มกราคม 2533 และเปิดทำการ ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา

ประวัติพื้นที่รับผิดชอบ เดิมทีรับผิดชอบหมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ตำบลท่าเรือ ต่อมาปี 2544 มีการแบ่งพื้นที่หมู่ที่ 6 เป็นหมู่ที่  17 อีกหนึ่งหมู่บ้าน สถานีอนามัยจึงรับผิดชอบ 3 หมู่ คือ หมู่ที่ 6 , 7 และ 17 แต่เนื่องจากหมู่ที่ 6 เป็นพื้นที่ห่างไกลจากสถานีอนามัยบ้านช้าง และการคมนาคมไม่สะดวกในการให้บริการ และการมารับบริการของประชาชน ซึ่งเป็นพื้นที่ติดถนนสาย นครศรีฯ-สงขลา สะดวกในการไปรับบริการที่สถานีอนามัยบ้านไม้แดงมากกว่า จึงมีการแบ่งเขตรับผิดชอบใหม่ ในปี 2544 โดยให้หมู่ที่ 6 เป็นพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านไม้แดง สถานีอนามัยบ้านช้าง จึงมีพื้นที่รับผิดชอบจนถึงปัจจุบันจำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 17 มีประชากรในความรับผิดชอบ ที่อาศัยอยู่จริงประมาณ 1,812 คน (จากการสำรวจ ปี 2554)

            ในเดือน มีนาคม 2554 สถานีอนามัยบ้านช้าง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านช้าง ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


Comments (2) »